วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ระบบหมู่เลือด Rh

1. เป็นระบบหมู่เลือดที่สำคัญรองลงมาจากหมู่เลือด ABO

2.แอนติเจน Rh เป็นแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของคนที่เหมือนกับแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของลิง Rhesus โดยที่ Landsteiner และWiener เป็นผู้ค้นพบว่า rabbit antisera ต่อเม็ดเลือดแดงของลิง Rhesus สามารถทำให้เม็ดเลือดแดงของคนส่วนใหญ่จับกลุ่มได้ คนเหล่านี่จัดว่าเป็นหมู่เลือด Rh+ve

3.แอนติเจน D เป็นแอนติเจนที่แรงกว่าแอนติเจนตัวอื่นในระบบเดียวกัน เมื่อกล่าวถึงว่าเป็นหมู่เลือด Rh+ve หมายถึงบนผิวเม็ดเลือดแดงนั้นมี D-antigen อยู่ ส่วนหมู่เลือด Rh-ve หมายถึงการไม่มี D-antigen บนผิวเม็ดเลือดแดง

4.ในคนไทยประมาณมากกว่าร้อยละ 99 เป็นหมู่เลือด Rh+ve และประมาณ 1:500 เป็นหมู่เลือด Rh-ve

5.ปัญหาอาจจะเกิดขึ้นได้กับคนที่มีหมู่เลือด Rh-ve ถ้าหากได้รับเลือดที่เป็นหมู่ Rh+ve เข้าไป ในครั้งแรกจะยังไม่มีปฏิกริยาอะไรเกิดขึ้น แต่ร่างกาย ซึ่งเดิมไม่มีแอนติบอดีย์ต่อ D-antigen มาก่อน จะเริ่มสร้างแอนติบอดีต่อ D antigen ขึ้นมาในร่างกาย ต่อเมื่อมีการได้รับเลือดที่เป็น Rh+ve อีกครั้ง คราวนี้จะเกิดปฏิกริยาระหว่าง D antigen บนเม็ดเลือดแดงของผู้ให้ กับแอนติบอดีบ์ต่อ D antigen ที่เกิดขึ้นในร่างของผู้รับ เกิดการจับกลุ่มเป็นตะกอนของเม็ดเลือด เกิดการแตกของเม็ดเลือดซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้รับเลือดได้

โลหิตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์โลก เมื่อขาดโลหิตทุกชีวิตต้องตาย เปรียบได้กับต้นไม้ที่ต้องการน้ำล่อเลี้ยงชีวิต หากขาดน้ำวันใดก็คงเหี่ยวเฉาแห้งตายไปในที่สุด นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างได้พยายามค้นคว้าวิจัยมาเป็นเวลานาน ในการหาสารประกอบอื่น ๆ ที่จะนำมาใช้ทดแทนโลหิตในร่างกาย แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ด้วยเพราะโลหิตมีความสำคัญมากถึงเพียงนี้เอง คนเรา ทุกคนจึงควรต้องทราบหมู่โลหิตของตนเองว่าเป็นหมู่โลหิตใด เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว โดยเฉพาะหมู่โลหิตที่หายากหรือพบได้น้อย เพื่อที่แพทย์จะได้รีบหาหมู่โลหิตที่เข้ากันได้ทันท่วงที

การจำแนกหมู่โลหิตระบบอาร์เอช (Rh)หมู่โลหิตนี้จะมีสารโปรตีนที่อยู่บนผิวของเม็ดโลหิตแดง ซึ่งเรียกว่า แอนติเจน-ดี (Antigen D) เป็นตัวบ่งบอกหมู่โลหิตระบบนี้ (Rh) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 หมู่ คือ
1. หมู่โลหิตระบบอาร์เอช บวก (Rh positive) คือ หมู่โลหิตที่มีแอนติเจน ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยมีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก ประมาณ 99.7%
2. หมู่โลหิตระบบอาร์เอช ลบ (Rh negative) คือ หมู่โลหิตที่ไม่มีแอนติเจน ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยพบว่ามีหมู่โลหิตนี้เพียง 0.3% หรือ 1,000 คน จะพบเพียง 3 คนเท่านั้น เราจึงมักเรียกว่า “หมู่โลหิตหายาก” หรือ “หมู่โลหิตพิเศษ” นั่นเองในการรับโลหิตนั้นถ้าผู้ป่วยมีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก จะไม่ค่อยมีปัญหาเพราะมีถึง 99.7 % แต่ถ้าผู้ป่วยมีหมู่โลหิตอาร์เอชลบ จะมีปัญหา เพราะมีน้อยมากในคนไทย ฉะนั้นผู้ที่มีหมู่โลหิตชนิดนี้ต้องสนใจและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น