วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงหมู่โลหิต Rh แล้วจะหมายถึงเฉพาะยีนคู่แรก ซึ่ง D เป็นยีนที่ทำให้คนเรามีหมู่โลหิตเป็น Rh บวก หรือถ้าไม่มียีน D จะเป็น Rh ลบ คนที่มียีน DD หรือชนิด Dd จะเป็น Rh บวก กล่าวคือ มี D แอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง ส่วนคนที่มียีนชนิด dd จะเป็น Rh ลบ ซึ่งมาจาก 3 กรณี ซึ่ง ศ.พญ.พิมล เชี่ยวศิลป์ ผู้ชำนาญการพิเศษ และผู้จัดการระบบคุณภาพ ก็ได้อธิบายไว้ดังนี้ค่ะคือ

1) พ่อและแม่มีหมู่โลหิต Rh บวก ทั้งคู่ เป็นยีนด้อยแฝงอยู่ (Dd)

2) พ่อ หรือ แม่ คนใดคนหนึ่ง มีหมู่โลหิต Rh บวก เป็นยีนด้อยแฝงอยู่ (Dd) และอีกฝ่ายหนึ่งมีหมู่โลหิต Rh ลบ

3) พ่อ และ แม่ ทั้งคู่มีหมู่โลหิต Rh-negative ซึ่งมียีนด้อย dd ทั้งสองคนสำหรับ การป้องกันนั้น ทุกคนควรที่จะไปตรวจเลือดให้ได้แน่นอนเสียก่อนว่าโลหิตมีอาร์เอช ลบหรือไม่

อย่างไรก็ตามการดำเนินชีวิตก็เหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป เพียงแต่ต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุร้างแรง หรือทำอะไรเสี่ยง ๆ จนทำให้เกิดเลือดตกยางออก เพราะว่าหากเสียโลหิตมากๆ การหาโลหิตทดแทนค่อนข้างลำบาก เป็นที่ทราบแล้วคนไทยมีหมู่โลหิตพิเศษนี้น้อยมาก การบริจาคก็น้อยด้วย ปัจจุบันจากทะเบียนจำนวนผู้บริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตฯ มีเพียงประมาณ 5,000 คน เท่านั้น

ฉะนั้นก็ขอฝากประชาชนชาวไทยทุกคน ไม่ควรจะตั้งอยู่บนความประมาณ เสียเวลาสักนิดไปตรวจหมู่โลหิตตามสถานพยาบาลต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ทราบว่าท่านมีหมู่โลหิตอะไร หากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องใช้โลหิต จะได้ช่วยได้อย่างทันท่วงที แต่ถ้าอยากจะทำบุญกุศลเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่นด้วยแล้ว ก็มาบริจาคโลหิต การบริจาคโลหิตจะตรวจหมู่โลหิต ทั้งระบบ ABO ระบบ Rh- และยังตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อทางโลหิต อีก 4 ตัวด้วยกัน คือ ไวรัสตับอับเสบบี , ไวรัสตับอับเสบ ซี, ซิฟิลิส, ไวรัสเอดส์ ให้อีกด้วย แต่คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิตได้ ต้องอายุ 17-60 ปี, น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป, ไม่มีโรคประจำตัวใด ๆ ทั้งสิ้น, นอนพักผ่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง,รับประทานอาหารมาก่อนบริจาคโลหิต ฯลฯ

***การบริจาคโลหิตเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้รู้ว่าโลหิตของท่านเป็นหมู่โลหิตใด ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วย

3 ความคิดเห็น: